บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

บทนำ

รูปภาพ
" มหาเวสสันดรชาดก  "                  มหาเวสสันดรชาดกเป็นเรื่องสูงส่ง แสดงให้เห็นถึงการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนของพระเวสสันดร เพื่อเป็นทางนำไปสู่พระโพธิญาณ เมื่อได้บรรลุพระโพธิญาณแล้วก็มิได้รับประโยชน์เฉพาะตน แต่ได้นำมาสั่งสอนเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกด้วย มหาเวสสันดรชาดกเป็นเรื่องที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแต่ไม่มีหลักฐานเหลือมา หนังสือเวสสันดรชาดกเพิ่งมามีลายลักษณ์อักษรแน่นอนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าโปรกกระหม่อมให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นเมื่อปีขาล จุลศักราช 44 คือพ.ศ. 2025 เรียกชื่อว่า "มหาชาติ" เป็นคำคละกันมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย มีวัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา                  ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้รุจนามหาเวสสันดรชาดกขึ้นอีก เมื่อจุลศักราช 964 คือพ.ศ. 2145 เรียกชื่อว่า "กาพย์มหาชาติ" เป็นคำประพันธ์ชนิดร่ายยาว วัตถุประสงค์แต่งขึ...

ประวัติผู้แต่ง

ประวัติผู้แต่งมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์   1.เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ประวัติ เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้ เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ ๒ , เจ้าจอมมารดานิ่ม พระมารดาสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ ๒ , นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวีและครูพิณพาทย์ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นต้นสกุล บุญ-หลง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแก่อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๔๘ ผลงานด้านวรรณคดีที่ท่านได้แต่งไว้หลายเรื่องด้วยกัน    พระราชนิพนธ์ ในมหาเวสสันดรชาดก 2 กัณฑ์ คือ มัทรี กุมาร 2. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนามเดิม พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่...

จุดประสงค์ในการแต่ง

          เพื่อใช้เทศน์ให้ประชาชนฟัง มหาเสสันดรชาดก  แต่งขึ้นเพื่อใช้เทศน์มหาชาติ  เนื่องจากร่ายยาวมหาเสสันดรชาดกเป็นชาดกเรื่องใหญ่ที่สุด  เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเสสันดรซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเสด็จออกผนวชกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เป็นเรื่องราวในพระชาติที่เป็นพระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญทศบารมี ครบทั้ง ๑๐ ประการ โดนเฉพาะอย่างยิ่ง ทานบารมี ซึ่งทรงบริจาคบุตรทารทาน  คือ บริจาคพระชาลี พระกัณหา และพระนางมัทรี  จึงเป็นชาติที่สำคัญและยิ่งใหญ่ เรียกว่า “มหาชาติ” หรือ “มหาเสสันดรชาดก”

ลักษณะการประพันธ์

รูปภาพ
         แต่งเป็นร่ายยาว มีพระคาถาภาษาบาลีนำ และพรรณนาเนื้อความโดยมีพระคาถาสลับเป็นตอน ๆ ไปจนจบกัณฑ์ คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว  หนึ่งบทจะมีกี่วรรคก็ได้  แต่ส่วนมากมี ๕ วรรคขึ้นไป  วรรคหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป  ถึง ๑๐ คำหรือมากกว่า  มีบังคับเฉพาะระหว่างวรรค คือ คำสุดท้ายของวรรคจะส่งสัมผัสไปที่คำที่ ๑ ถึง ๕ ของวรรคต่อไป  เมื่อจบตอนมักมีคำสร้อย เช่น “นั้นแล”  “นี้แล” ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นร่ายยาวสำหรับเทศน์  จะมีคำศัพท์บาลีขึ้นก่อน  แล้วแปลเป็นภาษาไทย  แล้วจึงมีร่ายตาม  ในระหว่างการดำเนินเรื่องจะมีคำบาลีคั่นเป็นระยะ ๆ  คำบาลีนั้นมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่ตามมา                         แผนผังร่ายยาว

เนื้อเรื่องย่อของกัณฑ์ต่างๆ

กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร   เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร             ภาคสวรรค์   พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญ   ท้าวสักกะเทวราชสวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร ๑๐ ประการ คือ ให้ได้อยู่ในประสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้คิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่า ผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทั้งหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท   ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้ กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต              พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช   เมื่อเจริญชนม์ได้ ๑๖ ชันษาจึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัย แห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า “เวสสันดร”ในวันที่ประสู...

คุณค่าที่ได้จากเรื่อง

 ๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์          ๑.๑ ใช้ถ้อยคำไพเราะ มีการเล่นคำ เล่นสัมผัสอักษร มีการใช้โวหารภาพพจน์ และการพรรณนาให้           เกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน รวมทั้งเกิดจินตนาภาพชัดเจน  ๒. คุณค่าด้านสังคม          ๒.๑ สะท้อนให้เห็นค่านิยมแนวโลกุตรธรรมของประชาชนว่า มีความปรารถนาจะบรรลุสัมมา               สัมโพธิญาณ         ๒.๒ เรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก เป็นวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงเป็น            ภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และค่านิยมของคนในยุคนั้น ๆได้ดีว่า มีการซื้อขาย          บุคคลเป็นทาส นิยมการบริจาคทานเพื่อหวังบรรลุนิพพาน มีความเชื่อเรื่องลางบอกเหตุ เชื่อเรื่อง              อำนาจของเทวดาฟ้าดินต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังแสดงภาพชีวิตในชนบทเกี่ยวกับการละเล่นและการ              เล่น...